1. ความหมาย power supply
    1. เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์
  2. การทำงานส่วนประกอบต่างๆของ Power Supply
    1. 1. AC Input เป็นส่วนขาเข้าโดยส่วนนี้จะต่อเข้ากับปลั๊กไฟ
    2. 2. ฟิวส์(Fuse) ทำหน้าที่ป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดในกรณีที่มีกระแสไฟเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์กะจะตัดกระแสไฟในทันที
    3. 3. วงจรกรองแรงดัน ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟที่เข้ามาไม่ให้มีการกระชากของไฟ ซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่าก็ได้
    4. 4. ภาคเรคติไฟเออร์(Rectifier) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยกระแสไฟจะวิ่งผ่านวงจรไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier)
    5. 5. หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) จะทำการแปลงแรงดันที่ได้มาจากวงจรเรคติไฟเออร์ เพื่อให้มีขนาดแรงดันที่ลดลงมาก่อนที่จะส่งต่อไปยังวงจรควบคุมแรงดัน
    6. 6. วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) ทำหน้าที่กำหนดค่าของแรงดันให้เหมาะสมกับอุปกรณ์แต่ละตัว
    7. 7. วงจรควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมวงจรสวิตชิ่งว่าจะให้ส่งแรงดันไฟที่ได้มาจากวงจรเรคติไฟเออร์ไปยังหม้อแปลงหรือไม่ โดยจะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกบนเมนบอร์ดอีกทอดหนึ่ง
  3. ประเภทของ Power Supply
    1. 1. AT เป็นพาวเวอร์ที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิกส์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จัมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
      1. Chinese Teacher
    2. 2. ATX เป็นพาวเวอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง
      1. Very Important Person
        1. She likes tulip
    3. 3. ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
      1. ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น
  4. วิธีตรวจวัดแรงดันไฟของ Power supply
    1. 1. ถอด Power supply และสายขั้วต่อจ่ายไฟที่โหลดให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกและนำออกมาจากเคส
    2. 2. ปลอกสายไฟเส้นเล็กทั้งสองข้างและนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีเขียวและอีกข้างหนึ่งเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีดำของขั้วจ่ายไฟสำหรับ เมนบอร์ดของ Power supply
    3. 3. นำสายจ่ายไฟจาก Power supply เสียบเข้ากับขั้วรับไฟของซีดีรอมไดร์เพื่อยึดการ์ดแลนเข้ากับอุปกรณ์
    4. 4. นำสายไฟเข้ากับขั้วรับท้าย Power supply และนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน
    5. 5. นำขั้ววัดไฟลบ (สายสีดำ) ไปเสียบเข้ากับจ่ายไฟสายสีดำและขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ไปเสียบเข้ากับขั้วจ่ายไฟสายสีเหลืองเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 12 V.ถูกต้องหรือไม่
    6. 6. เปลี่ยนขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ของมิเตอร์ไปเสียบเข้ากับขัวจ่ายไฟสายสีแดง ส่วนขั้ววัดไฟลบของมิเตอร์ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 5 V.ถูกต้องหรือไม่
    7. 7. หาพบว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาสูงเกินหรือต่ำกว่า 5, 12 V. มากเกินไป แสดงว่าเสียให้เปลี่ยนตัวใหม่แทนเครื่องก็จะทำงานได้ตามปกติ
  5. Power Supply ที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
    1. 1. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีความสามารถในการจ่ายไฟเต็ม maximum load ตามสติกเกอร์ที่ติด
      1. Starbucks
    2. 2. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันไฟเกิน ไฟกระชาก โดยเสปกต้องระบุว่ามีคุณสมบัติ Over Voltage Protection (OVP) และ Over Current Protection (OCP)
      1. no meat
    3. 3. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีต้องจ่ายไฟอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า PFC (Power Factor Correction)
    4. 4. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดี เช่น มีพัดลมขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน (Heat sink) ที่ใหญ่กว่า
  6. Power Supply คุณภาพดีดูที่ตรงไหน
    1. 1. รูปลักษณ์ภายนอก ควรเป็นกล่องที่ทำจากเหล็กที่มีความหนาพอสมควร และเคลือบด้วยสารกันสนิม เพาเวอร์ซัพพลายราคาถูกจะประหยัดต้นทุนในส่วนนี้จึงใช้แผ่นโลหะที่บางกว่า
    2. 2. น้ำหนักดี เพราะ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่วัตต์เต็มจะใช้ขดลวดทองแดงมากกว่า นอกนี้ครีบระบายความร้อนก็จะมีขนาดหรือพื้นที่กว้างกว่า ทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีมีน้ำหนักมากกว่า
    3. 3. ป้ายสติกเกอร์ ที่ติดข้างกล่องจะต้องมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เช่น UL, FCC, Nemko (N), Semko (S), Demko (D) เป็นต้น
    4. 4. ผลิตจากโรงงานที่เชื่อถือได้
  7. วิธีการเลือกซื้อ Power Supply
    1. 1. เลือกดูกำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องแต่ละคน
    2. 2. ดูสภาพจากกล่องภายนอกว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบเบี้ยว
    3. 3. สายไฟ ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลั๊กไฟมีจำนวน 6-9 หัว (ขึ้นอยู่กับรุ่น) และอยู่ในสภาพสมบูรณ์)
    4. 4. มาตรฐานรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานต่างๆ เช่น FCC/ CE/ UL/ TUV เป็นต้น
  8. Power Supply เสียเปลี่ยนอย่างไร
    1. 1. เปิดฝาครอบ Power Supply ออกและถอดพัดลมระบายความร้อนตัวเดิมออกโดยใช้คีมตัดสายไฟพัดลมตัวเดิมออกจากวงจร
    2. 3. ใช้เทปพันสายไฟพันปิดรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรแล้วปิดฝาเครื่องนำไปประกอบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ และลองเปิดดู