1. ความหมายขององค์กร
    1. คือ มีเป้าประสงค์ในการจัดตั้งองค์กรชัดเจน กำหนดโครงสร้างองค์กรตามลักษณะขององค์กร และมีกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำงา่นด้วยกัน
  2. วัตถุประสงค์ขององค์กร
    1. เพื่อสร้างคุณค่า ที่สังคมปรารถนา
    2. เพื่อตอบสนองความต้องการของคนและกลุ่มต่างๆ ในองค์กร
    3. เพื่อความดำรงอยู่ และความเจริญ ขององค์กร
  3. วงจรชีวิตขององค์กร
    1. ระยะแรกกฎระเบียบน้อยผู้เชี่ยวชาญไม่มาก รวมศูนย์ตัดสินใจ
    2. ระยะที่สองผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นมีกฎระเบียบเป็นทางการมากขึ้น ร่วมกันตัดสินใจ
    3. ระยะที่สามมีการเติบโตเต็มที่ ผจก. แบ่งอำนาจหน้าที่กันอย่างชัดเจนไปตามความชำนาญเฉพาะด้าน มีการกระจายอำนาจ
    4. ระยะสุดท้ายเป็นช่วงที่องค์กรมีลักษณะเติบโตเต็มที่และเริ่มเติบโตช้าลง
  4. ประโยชน์ของการจัดองค์กร
    1. ช่วยกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่และภารกิจต่างๆ
    2. ช่วยในการประสานงาน โดยการกำหนดขอบเขตและจัดกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน
    3. ช่วยป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
    4. ช่วยลดการสับสนในการทำงาน มุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
    5. ช่วยลดความขัดแย้งและอึดอัดใจระหว่างผู้ปฏิบัติงาน จึงเป็นการช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
  5. กระบวนการขององค์กร
    1. การกำหนดเป้าหมาย
    2. การแบ่งงาน
    3. การจัดบุคคลเข้าทำงาน
    4. การสร้างความสัมพันธ์
  6. ลักษณะขององค์กรที่ดี
    1. เป้าหมายขององค์กรชัดเจน
    2. สายงานบังคับบัญชาสั้นพร้อมงานบังคับบัญชาที่หลากหลาย
    3. มีฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารงาน
    4. มีระบบการจัดการที่ดีด้วยคนที่ไม่มาก
    5. เน้นการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ
    6. มีการตลาดและประชาสัมพันธ์
    7. ร่วมมือร่วมใจ และทำงานเป็นทีมอย่างดียิ่ง
    8. เน้นมูลค่าในการทำงานในแต่ละตำแหน่งและดำเนินตามนโยบายอย่างแน่วแน่
  7. ประเภทขององค์กร มี2ประเภท
    1. องค์กรที่มีรูปแบบ
      1. คือ องค์กรที่มีโครงสร้างอย่างมีรูปแบบ วางกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ในระเบียบแบบแผน
    2. องค์กรไร้รูปแบบ
      1. คือ องค์กรที่มีไม่มีโครงสร้างอย่างมีรูปแบบ ไม่มีระเบียบและกำหนดกฎเกณฑ์แน่นอน ไม่มีการกำหนดหน้าที่
  8. ทฤษฎีองค์กร
    1. ทฤษฎีองค์กรแบบประเพณีนิยม
    2. ทฤษฎีกึ่งประเพณีนิยม
    3. ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่
  9. ประเภทของโครงสร้างองค์กร
    1. โครงสร้างแบบงานหลัก
    2. โครงสร้างแบบงานหลักและงานที่ปรึกษา
    3. โครงสร้างแบบหน้าที่การงานเฉพาะ
    4. โครงสร้างแบบแมททริกซ์
    5. โครงสร้างแบบสูงและแบบกว้าง
  10. ประเภทของการจัดแผนกงาน
    1. การจัดแผนกงานตามหน้าที่การงาน
    2. การจัดแผนกงานตามผลิตภัณฑ์
    3. การจัดแผนกงานตามพื้นที่
    4. การจัดแผนกงานตามลักษณะลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ
    5. การจัดแผนกงานตามกระบวนการทำงาน
    6. การจัดแผนกงานแบบผสมผสาน